วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บรรยากาศสงกรานต์ปีที่แล้ว เชียงใหม่+บุรีรัมย์





ร่วมอนุรักษ์กรานต์ให้ยั่งยืน








ประกาศพร้อมทำนายสงกรานต์ปีนี้


ร่วมกันอนุรักสงกรานต์



สงกรานต์ ต่อครับ


วันสงกรานต์ ประเพณีไทย

      สงกรานต์ซึ่ง เป็นประเพณีของประเทศไทย  สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การผ่าน หรือ การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี...

ประเพณีสงกรานต์ ของไทยที่สืบกันมาอย่างช้านาน

               โดยการนับ ระยะเวลาที่เส้นทางของ ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มดาวราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกร กุมภ์ และ มีน การโคจร ผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 30 วัน เมื่อ ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน กลุ่มดาว เหล่านี้ครบทั้ง 12 กลุ่ม ก็จะได้ระยะเวลา 1 ปี พอดี เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันใน ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจาก อินเดียเช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น

 

วันมหาสงกรานต์ 13 เมษายน

           วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" หรือ วันเริ่มต้นปีใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวง อาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่ ราศีเมษนั้น  โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดี วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี มี 3 วันคือ  วันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า (วันที่ 13 เมษายน)  วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน) วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก (วันที่ 15 เมษายน) 

              หรือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของประเทศไทยและบางประเทศในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ และชาวต่างประเทศจะเรียกว่าเทศกาลนี้ว่า สงครามน้ำสงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมาย ถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดของแต่ละปี ซึ่งจะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ

 

ชื่อของนางสงกรานต์                                                                                                                                                
ชื่อของนางสงกรานต์มี ดังนี้  วันอาทิตย์ ชื่อนางทุงษะเทวี วันจันทร์ชื่อนางโคราคะเทวี วันอังคารชื่อนางรากษสเทวี วันพุธชื่อนางมณฑาเทวี วันพฤหัสชื่อนางกิริณีเทวี วันศุกร์ชื่อนางกิมิทาเทวี วันเสาร์ชื่อนางมโหธรเทวี
ตำนานนางสงกรานต์

           บุตรของเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ ธรรมบาลกุมาร เป็นผู้ที่รู้ภาษานก เรียนไตรเพทจบ เมื่ออายุเจ็ดขวบ เป็นอาจารย์บอก มงคลต่าง ๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ซึ่งในขณะนั้น โลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหมและกบิลพรหมองค์หนึ่งว่า เป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบ จึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อ สัญญาไว้ว่า ถ้าแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ปัญหานั้นว่า
ข้อ ๑.เช้าราศีอยู่แห่งใด 
 
ข้อ ๒.เที่ยงราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๓.ค่ำราศีอยู่แห่งใด

 

        ธรรมบาลขอผลัด ๗ วัน ครั้นล่วงไปได้ ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้ จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาลสองต้น มีนกอินทรี ๒ ตัวผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นตาลนั้น  ครั้ง เวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามีบอกว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย เพราะทายปัญหาไม่ออก นางนกถามว่า ปัญหานั้นอย่างไรสามีจึงบอกว่า ปัญหาว่าเช้าราศีอยู่แห่งใด เที่ยงราศีอยู่แห่งใด ค่ำราศีอยู่แห่งใด นางนกถามว่า จะแก้อย่างไร สามีบอกว่า เช้าราศีอยู่หน้า  มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีอยู่อก  มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก เวลาค่ำราศีอยู่เท้า  มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้าครั้งรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมมาถามปัญหา ธรรมบาลกุมารก็แก้ตามที่ได้ยินมา 

ท้าวกบิลพรหมจึงตรัส เรียกเทพธิดาทั้ง ๗ อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกัน บอกว่า เราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาล ศีรษะของเราถ้าจะตั้งไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้ทั่วโลก ถ้าจะทิ้งขึ้นบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งไว้ในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง 

         ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะส่งให้ธิดาผู้ใหญ่ นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้ แล้วแห่ทำประทักษิณ รอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที จากนั้นเชิญไปประดิษฐานไว้ในมณฆปถ้ำคันธุลีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่าง ๆ พระเวสสุกรรมกันฤมิตรแก้วเจ็ดประการชื่อ ภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงนำเอาเถาฉมุลาด ลงมาล้างในสระอโนดาตเจ็ดครั้ง แล้วแจกกันสังเวยทุก ๆ พระองค์ ครั้งถึงครบกำหนด ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่า ปีหนึ่งเป็นสงกรานต์นางเทพธิดาเจ็ดองค์ ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก ซึ่งลูกสาวทั้งเจ็ดของท้าวกบิลพรหมนั้น

         เราสมมติเรียกว่า นางสงกรานต์ มีชื่อต่าง ๆ ดังนี้ วันอาทิตย์ ชื่อนางทุงษะเทวี วันจันทร์ชื่อนางโคราคะเทวี วันอังคารชื่อนางรากษสเทวี วันพุธชื่อนางมณฑาเทวี วันพฤหัสชื่อนางกิริณีเทวี วันศุกร์ชื่อนางกิมิทาเทวี วันเสาร์ชื่อนางมโหธรเทวี

 

 ความหมายวันมหาสงกรานต์ของแต่ละวัน

 

    ถ้าปีใดวันมหาสงกรานต์เป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นไร่นาเรือกสวน เผือกมัน มิสู้แพงแล วันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้เสนาบดี ท้าวพระยาและนางพระยาทั้งหลาย

      วันอังคารและวันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์  จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิงและโจรผู้ร้าย และจะเจ็บ ไข้นักแล วันพุธ เป็นวันมหาสงกรานต์ ว่าท้าวพระยาจะได้เครื่องบรรณาการมาแต่ต่างเมือง แต่จะแพ้ลูกอ่อนนักแล

      วันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้ข้าไทพระสงฆ์ราชาคณะจะได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจกันแล

      วันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุม จะเจ็บตากันมากนักแล

 ความสำคัญของวันสงกรานต์
             พิธีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ มาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อส่วนนั้นไปและ ในความเชื่อดั้งเดิมที่ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น และขอพรจาก บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ได้แก่ การร่วมกันทำบุญให้ทาน การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็น การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสร้างความรู้สึกผูก พันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน และสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ตลอดจนอาคารสถานที่สถานที่ต่างๆ

       
เวลาได้เปลี่ยนไป ผู้คนได้มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ๆ และจะถือเอาวันสงกรานต์เป็นวัน กลับบ้านทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายขอเทศกาล  นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยัง ถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ปัจจุบันนี้เทศกาลสงกรานต์มีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาด เคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นเท่านั้น
 
              ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า วันมหาสงกรานต์วันถัดมาเรียกว่า วันเนาและวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า วันเถลิงศกจากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) ซึ่งบางปีก็อาจจะตรงกับวันใดวันหนึ่ง

  

กิจกรรมในวันมหาสงกรานต์

 ทำบุญตักบาตร
       วันมหาสงกรานต์ ประชาชนจะลุกขึ้นมาตอนเช้าเพื่อที่จะจัดเตรียมอาหาร ไปตักบาตรถวายพระ พอจัดเตรียมอาหารเสร็จก็จะ บรรจงลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามที่สวยงาม แล้วเอาวางเรียงลงในถาด เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตน  เรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดสวยงามมิดชิดเหมาะแก่การไปวัดของชาวบ้าน 

 ก่อพระเจดีย์ทราย

       

        ในสมัยก่อนทีเรื่องเล่าขานกันว่าทุกคนเมื่อเข้าวัดมาแล้วเวลาเดินออกจากวัดจะมีเม็ดทรายติดเท้าออกไปด้วยเพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการเติมเต็มจึงมีการขนทรายเข้าวัดหรือการก่อพระเจดีย์ทรายนั้นเองแต่ถึงอย่างไรแล้วการก่อพระเจดีย์ทรายก็เป็นเพียงกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมกันทำเพราะตอนเย็นๆชาวบ้านก็จะพากันไปที่ท่าน้ำแล้วขนทรายกันมาคนละถังเพื่อนำทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์นั่นถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะให้ชาวบ้านมีความสามัคคีกรมเกลียวเพราะเมื่อขนทรายเข้าวัดแล้วทรายก็จะล้นวัดพระสงฆ์ก็จะนำทรายที่ชาวบ้านขนมานำไปคืนสู่แม่น้ำดังเดิมเพราะไม่รู้จะเก็บไว้ทำอะไรเพราะฉะนั้นแล้วเวลาขนทรายเข้าวัดควรจะขนเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นพอเพราะจะสร้างความลำบากให้พระเณรในภายหลัง

ปล่อยนกปล่อยปลา

            การปล่อยนกปล่อยปลาในวันมหาสงกรานต์ถือว่าทำกันอาจจะเป็นประเพณีเลยทีเดียวเพราะนั่นถือว่าเมื่อเข้าวัดมาแล้วก็ต้องทำบุญโดยการปล่อยนกปล่อยปลาถ้าถือตามความเชื่อแล้วอานิสงส์ในการปล่อยนกปล่อยปลาถือว่ามีมากเลยทีเดียวแล้วแต่ใครจะอธิฐานแบบไหนเพราะการให้ชีวิตใหม่แก่สัตว์ที่ถูกจับมาทรมานถือว่าได้บุญมากเลยทีเดียวเพราะฉะนั้นไม่แปลกเลยถ้าถึงวันสงกรานต์จะเห็นประชาชนปล่อยนกปล่อยปลา

สรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำ

       การสรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปีใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำมาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รายงาน สงกรานต์ประเพณีไทย


สงกรานต์ประเพณีไทย

 นายกฤติกร  พาศิริ              เลขที่ 6

                                           นายจักรกฤษณ์  ประพันธ์     เลขที่ 7

                                           นายภัทรภณธ์  ธชีพันธ์         เลขที่ 2

 นายพิชยา  แถวเพ็ชร           เลขที่ 10

 นายกิตติพงษ์  หอมเนียม      เลขที่ 37

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10

รายงานเชิงวิชาการฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้(ท31201)

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556

โรงเรียนสุรวิทยาคาร     

                                                                                บทคัดย่อ

                    รายงานเชิงวิชาการเรื่อง สงกรานต์ประเพณีไทย   มีวัตถุประสงค์เพี่อ 1. เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลทั่วไปของประเพณีสงกรานต์ 2. เพื่อศึกษาเอกลักษณ์และความแตกต่างของประเพณีสงกรานต์ในแต่ละภูมิภาคของไทย 3.เพื่อศึกษาวิธีการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีสงกรานต์  มีวิธีรวบรวมข้อมูลคือ ศึกษาค้นคว้า บันทึกสิ่งที่ได้ศึกษาและได้พบโดยละเอียด แล้วรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า จากนั้นก็นำมาเขียนเป็นรายงานพร้อมสรุปและอภิปรายผลนำเสนอครูผู้สอน เพื่อจะได้จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอเป็นรายงานเชิงวิชาการต่อไป  ผลการศึกษาพบว่า คนไทยทราบถึงข้อมูลทั่วไปของประเพณีสงกรานต์ และให้ความสำคัญกับประเพณีสงกรานต์เป็นอย่างมาก ถือเป็นประเพณีที่มีความผูกพันกับคนไทยมานาน ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทยมีความแตกต่างกันออกไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น การละเล่น การจัดกิจกรรมและการแสดงที่ผสมผสานของท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้คนไทยเกิดความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ส่งเสริมประเพณีอันดีงามนี้ให้ดำรงอยู่คู่คนไทยต่อไป

                                                                         กิตติกรรมประกาศ

                รายงานเชิงวิชาการเรื่อง สงกรานต์ประเพณีไทย สำเร็จลงได้ด้วยความร่วมมือจากนางจิตรลดา  ประพันธ์  นางชนิดา  ศรีขาว และคุณครูรุ้งดาว  กลิ่นหอม คุณครูประจำวิชา ที่ได้กรุณา แนะนำและให้ข้อเสนอแนะในการทำรายงานเชิงวิชาการทำให้รายงานเชิงวิชาการฉบับนี้ สำเร็จได้ด้วยดี  คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้
                                                                                                        นายกฤติกร  พาศิริศิริ                                          .                                                                                                       นายจักรกฤษณ์  ประพันธ์ ปป ประพันธ์     ใ                .                                                                                     นายภัทรภณธ์  ธชีพันธ์                                                                                                                  .                                                                                                       นายพิชยา  แถวเพ็ชร .             .                                                                                           .                                                                                                       นายกิตติพงษ์  หอมเนียม

                                                                                                          8  กันยายน  2556

                                              .                                                            .                                                                                                        บทที่ 1 บทนำ

  ความนำ

                    เมื่อกล่าวถึงสังคมหรือคนที่มาอยู่ร่วมกัน และมีความสัมพันธ์ต่อกันเราจึงต้องนึกถึงประเพณีที่เป็น ผลผลิตอันเกิดจากการกระทำระหว่างกันของคนในสังคม เพราะประเพณีเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยคนในสังคม ให้การยอมรับ และนำไปเป็นแนวทางเป็นวิธีปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ดังนั้นประเพณีจึงเป็นทั้งคุณค่าของสังคม และเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีของสังคมตลอดจนผลผลิต ผลงานภูมิปัญญาต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ประเพณีเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตของคนไทยมีความเป็นเอกลักษณ์ แต่ก็มีความหลากหลายของในแต่ละท้องถิ่น ซึ้งแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิศาสตร์และการอยู่ร่วมกันของชนชาวไทย ประเพณีทุกประเพณีล้วนมีความสำคัญต่อคนไทย รวมถึงประเพณีสงกรานต์ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตเป็นคุณค่า คู่ควรแก่การอนุรักษ์ สืบสาน เพื่อให้ดำรงอยู่คู่คนไทยต่อไป
  วัตถุประสงค์ใประสงค์                                                                                                                                                                   1. เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลทั่วไปของประเพณีสงกรานต์                                                                             2. เพื่อศึกษาเอกลักษณ์และความแตกต่างของประเพณีสงกรานต์ในแต่ละภูมิภาคของไทย                                   3. เพื่อศึกษาวิธีการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีสงกรานต์

  สมมติฐาน

       คนไทยรู้และเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของประเพณีสงกรานต์ รวมถึงสามารถปฏิบัติตนในวันสงกรานต์ได้ถูกต้อง

   ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า

              1. ประวัติวันสงกรานต์                                                                                                                   . .             2. คุณค่าและความสำคัญ                                                                                                                             3. ตำนานนางสงกรานต์                                                                                                                     ใ             4. กิจกรรมในวันสงกรานต์                                                                                                                 ใ            5. เอกลักษณ์และความแตกต่างของประเพณีสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่น                                                              .             6. สิ่งที่ควรปฏิบัติและการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีสงกรานต์          

                                                                     บทที่ 2 เนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 1. ประวัติความเป็นมา

         สงกรานต์ เป็นประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบันการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามของประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ

  2. คุณค่าและความสำคัญ

                  ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรักความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนาทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกันเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาเช่นลูกหลานนำสิ่งของมา เยี่ยมเยียน และรดน้ำขอพรจากบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยายรวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชนได้แก่ การร่วมกันทำบุญให้ทาน การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกันนอกจากนี้ ยังสร้างความรู้สึกผูก พันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกันและสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอารามตลอดจนอาคารสถานที่สถานที่ต่างๆ

                  การคำนวณ ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก"   ( วิกิพีเดีย .[ออนไลน์].www.https://th.wikipedia.org/wik/สงกรานต์

  3. ตำนานนางสงกรานต์

               เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปีก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆนางสงกรานต์มีชื่อดังนี้            1. วันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี                                                                      2. วันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคเทวี                                                                       3. วันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นา รากษสเทวี                                                                       4. วันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มัณฑาเทวี                                                                           5. วันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิรกณีเทวี                                                                      6. วันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี                                                                             7. วันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี                                                                         .   .              นางสงกรานต์เป็นธิดาของท้าวมหาสงกรานต์หรือ ท้าวกบิลพรหม มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหมซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้าเนื่องจากท้าวกบิลพรหมแพ้พนันการตอบปัญหาแก่ธรรมบาลกุมารจึงต้องตัดเศียรของตนบูชาแก่ธรรมบาลกุมารก่อนจะตัดเศียรท้าวกบิลพรหมาได้เรียกธิดาทั้ง 7 ซึ่งเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาให้เอาพานมารองรับเนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความร้อนทั้งปวงถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลกถ้าโยนขึ้น ไปบนอากาศฝนจะแล้งถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้งธิดาทั้ง 7 จึงผลัดเปลี่ยนกันถือพานรองเศียรของท้าวกบิล พรหมไว้ คนละ 1 ปี


  4. กิจกรรมในวันสงกรานต์

1. การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย                                                             2. การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา                                         3. การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย                                       4. บังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล                                           5. การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์                                                           6. การดำหัว การดำหัวทำเพื่อแสดงเราเคารพนับถือต่อพระ, ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีอาภรณ์มะพร้าวกล้วยส้มป่อยเทียนและดอกไม้                     7. การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่                                                                                                                                                      8. การนำทรายเข้าวัด จะทำให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด แต่ก็มีบางที่ เชื่อว่าตลอดปี การนำทรายที่ติดเท้าออกวัด เป็นบาป จึงขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เป็นบาป                                    (กระปุก.[ออนไลน์].www.https://hillight.kapook.com/view/21053)

  5. เอกลักษณ์และความแตกต่างของประเพณีสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่น

               5.1  สงกรานต์ภาคเหนือ                                                                              

                             วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ชาวไทยเหนือถือกันว่าเป็นวันสังขารล่อง (อายุสังขาร)คืออายุของมนุษย์ ได้ล่วงเลยไปอีก 1 ปีและเป็นวันที่สุดของศักราชเก่า ตอนเช้ามีการขับไล่เสนียด จัญไร การทำความสะอาดบ้านเรือนการชำระล้างร่างกาย เรียกว่า "ไปแอ่วปีใหม่" ในวันนี้ เริ่มมีการเล่นรดน้ำกันแล้ว วันรุ่งขึ้นเป็นวันเนาว์หรือวันดามีการเตรียมของสำหรับทำบุญการขนทรายนำไปไว้ที่วัดร่วมกันก่อเจดีย์ทราย มีการเล่นน้ำ วันที่สามเป็นวันพญาวันหรือวันเถลิงศกมีการนำอาหารไปถวายพระและนำอาหารไปให้แก่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือตลอดจนนำไปถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับมีการถวายทานเจดีย์ทรายปล่อยนกปล่อยปลาการสรงน้ำพระเจดีย์การค้ำต้นโพธิ์การสรงน้ำพระพุทธ คู่บ้านคู่เมืองการไปดำหัวโดยลูกหลานจะพากันไปขอขมา  วัน ปากปี จะมีการแห่ดำหัวไปดำหัวพระผู้ใหญ่ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด (เจ้าเมือง) เป็นต้น  ในวันนี้ก็จะมีการดำหัวกู่คือ การไปดำหัวอนุสาวรีย์บรรพบุรุษของตระกูลของตน  การดำหัวเป็นวัฒนธรรมอันสูงยิ่งของภาคเหนือเป็นการแสดงออกถึงการขออภัยการให้อภัย งานสงกรานต์ที่มีชื่อเสียงของภาคเหนือคือ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง จังหวัดเชียงใหม่

               5.2  สงกรานต์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ        

                             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานของไทยเรียกว่า "ฮีตสิบสอง" ซึ่งมักจะเป็นงานบุญที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นหลักและในเดือนห้าก็เป็นการทำบุญสงกรานต์ ในวันที่ 13 14 15 เมษายน พิธีการของแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการสรงน้ำพุทธรูปบางที่ใช้ศาลาการเปรียญแต่บางที่จะจัดสร้างหอสรงแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานในหอสรงเพื่อสรงน้ำในวันสงกรานต์นอกจากนั้นก็มีการเล่นสาดน้ำกัน หลังจากวันสงกรานต์แล้วหมู่บ้านบางแห่งมีการแห่ดอกไม้ไปถวายพระที่วัดในเวลาพลบค่ำก็มีการไหว้พระ รับศีล เป็นการสร้างความสามัคคีกันในหมู่คณะ สงกรานต์ที่มีชื่อเสียงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่สงกรานต์ในจังหวัดหนองคายซึ่งมีการสรงน้ำหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปอันเป็นที่สักการะ ของทั้งประชาชนชาวไทยและประชาชนชาวลาวเช่นเดียวกันกับไทยการเล่นสงกรานต์สองฟากฝั่งโขงเนื่องจากลาวก็ถือคติการเล่นสงกรานต์


                 5.3  สงกรานต์ภาคกลาง       

                             ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ชาวภาคกลางยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณแบ่งออกเป็น 3 วัน คือวันที่ 13 14 และ 15 มีการทำบุญตักบาตรการปล่อยนกปล่อยปลา การสรงน้ำพระการก่อพระ เจดีย์ทรายการแห่นางสงกรานต์การเล่นสาดน้ำ การเล่นสงกรานต์ที่มีชื่อเสียงได้แก่สงกรานต์กรุงเทพมหานคร บริเวณสนามหลวง วัดมหาธาตุ และสงกรานต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาโดยจัดการเล่นสงกรานต์แบบโบราณ นอกจากนี้ยังมีสงกรานต์พระประแดงจังหวัดสมุทรปราการซึ่งแตกต่างไปจากสงกรานต์ทั่วไป เช่น ขบวนแห่นกแห่ปลาซึ่งเจ้าภาพจะเชิญหญิงสาวมาถือกรงนกและโหลใส่ปลาสำหรับนำไปปล่อย พิธีการส่งข้าวแช่สงกรานต์ โดยให้หญิงสาวเป็นคู่ๆถือภาชนะใส่ข้าวแช่และกับข้าวไปส่งตามวัดต่างๆแต่เช้าตรู่  การเล่นสะบ้าซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ดั้งเดิมในช่วงสงกรานต์นี้
ชาวพระประแดงจะแต่งกายตาม แบบดั้งเดิมของชาวรามัญ

               5.4  สงกรานต์ภาคใต้ 

                             ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ชาวภาคใต้ ถือเอาวันที่ 13 14 และ 15 มีการทำบุญตักบาตรการปล่อยนกปล่อยปลา การสรงน้ำพระการก่อพระเจดีย์ ทรายการแห่นางสงกรานต์และรถบุปผชาติ การเล่นสาดน้ำ เช่นเดียวกับภาคอื่นๆจังหวัดที่มีการเล่นสงกรานต์ที่ มีชื่อเสียงได้แก่สงกรานต์หาดใหญ่ จังหวัดสงขลาซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ศาลาไทย ตั้งแต่วันที่ 6-15 เมษายน ได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ และยังมีสงกรานต์เมืองนครจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามแบบดั้งเดิมของชาวนครศรีธรรมราชมีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากหอพระออกมา
สรงน้ำพิธีตักบาตรบริเวณสนามหน้าเมือง การแห่นางสงกรานต์และ การแห่นางกระดานเป็นต้น                  (ประเพณีไทย.[ออนไลน์].www.prapayneethai.com/ประเพณีสงกรานต์-เชียงใหม่)     


6. สิ่งที่ควรปฏิบัติและการอนุรักษณ์ฟื้นฟูประเพณีสงกรานต์


                  การเตรียมเครื่องนุ่งห่มชุดใหม่ที่สะอาดเรียบร้อย เพื่อไหว้บิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่การทำความสะอาดบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย บริเวณต่างๆในชุมชนที่อยู่ เช่น วัดวาอารามที่จะใช้เป็นสถานที่สำหรับทำบุญและที่สาธารณะต่างๆการเล่นสาดน้ำโดยใช้น้ำสะอาด และเล่นอย่างสุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญ หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นการละเล่นรื่นเริงอื่นๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ    ในปัจจุบันการเล่นสงกรานต์มีกิจกรรมบางอย่างที่มีการปฏิบัติในลักษณะที่ไม่เหมาะสมและส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณีหรือส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินซึ่งควรจะมีการป้องกันและแก้ไข ได้แก่
                1. การเล่นสาดน้ำอย่างรุนแรง เช่น ใช้ปืนฉีดน้ำชนิดอัดแรงลมการใช้น้ำสกปรก หรือของเหลวที่เน่าเหม็น การขว้างปาถุงน้ำแข็งทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือสร้างความไม่พอใจ

                 2. การประแป้ง หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะส่อไปในทางกระทำอนาจาร เช่นใช้มือลูบคลำใบหน้าหน้าอก หรือสะโพกของสุภาพสตรี
                 3. การประกวดเทพีสงกรานต์ หรือประกวดในลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมเช่น แต่งกาย

ด้วยชุดว่ายน้ำ ประกวดเทพีสงกรานต์ประเภท 2 เป็นต้น  

                 สิ่งที่ควรปฏิบัติฟื้นฟูคือ การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณค่าและสาระที่สำคัญของประเพณีและรูปแบบกิจกรรม การปฏิบัติที่เหมาะสมตามประเพณี การส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนรวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัย                                                                                                (หน้าบ้านจอมยุทธ.[ออนไลน์].www.https://baanjomyut.com/libry/songkran)


                                                       บทที่ 3 วิธีดำเนินการ

                              รายงานเชิงวิชาการเรื่อง สงกรานต์ประเพณีไทย   คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

ที่
รายการ
วันที่ดำเนินการ
1
รวมกลุ่ม และกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา
19 มิถุนายน 2556
2
ตั้งวัตถุประสงค์ สมมติฐาน ขอบเขตการศึกษา
26 มิถุนายน 2556
3
กำหนดหัวข้อเรื่องหลักและหัวข้อเรื่องย่อยที่จะศึกษา
10 กรกฎาคม 2556
4
ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และจากอินเตอร์เน็ต
20,23,27 กรกฎาคม 2556
5
บันทึกสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าและได้พบโดยละเอียด
11-12 สิงหาคม 2556
6
รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลที่ได้จากการคึกษาค้นคว้า
17 สิงหาคม 2556
7
นำข้อมูลมาเขียนรายงาน(ฉบับร่าง)พร้อมสรุปและอภิปรายผล
26-27 สิงหาคม 2556
8
นำรายงาน(ฉบับร่าง)เสนอครูผู้สอน
3 กันยายน 2556
9
จัดทำรายงาน(ฉบับสมบูรณ์)เพื่อนำเสนอเป็นรายงานเชิงวิชาการ      
8 กันยายน 2556



                                                      บทที่ 4 ผลการศึกษา


                   รายงานเชิงวิชาการเรื่อง สงกรานต์ประเพณีไทย   คณะผู้จัดทำได้ผลการศึกษาดังนี้ คนไทยให้ความสำคัญกับประเพณีสงกรานต์เป็นอย่างมาก เป็นประเพณีที่มีความผูกพันกับคนไทยมานาน สงกรานต์ซึ้งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษจีน พิธีสงกรานต์เกิดขึ้นในสมาชิกครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง มีการขอขมาผู้ใหญ่ และบรรพบุรุษที่ล้วงลับไปแล้ว ในปัจจุบันนับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว เดิมมีการสรงน้ำพระ ปัจจุบันมีแนวโน้มเกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท้องเที่ยว ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ จึงเป็นวันแห่งความรัก ความผูกพัน ความเอื้ออาทรต่อกันประเพณีสงกรานต์ในแต่ละภูมิภาคของไทยมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิประเทศสภาพท้องถิ่นชุมชน                                                                                                                                         1. สงกรานต์ภาคเหนือ (สงกรานต์ล้านนา) หรือ "ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง" เริ่มตั้งแต่ "วันสังขารล่อง"
(13 เม.ย.) มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล "วันเนา"  (14 เม.ย.) วันนี้ห้ามด่าทอว่าร้าย          
วันพญาวัน" หรือ "วันเถลิงศก" (15 เม.ย.) ทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม รดน้ำผู้ใหญ่เพื่อขอขมาคารวะ  "วันปากเดือน" (17 เม.ย.) วันส่งเคราะห์ออกจากตัวเพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา "วันปากวัน" (18 เม.ย.) .                        2. สงกรานต์ภาคอีสาน เรียกว่า "บุญเดือนห้า" หรือ"ตรุษสงกรานต์" จะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันเริ่มงานรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน
 3. สงกรานต์ภาคกลาง เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็น "วันกลาง" และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันวันเถลิงศก ทั้ง 3 วันจะประกอบพิธีทางศาสนาการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย
4. สงกรานต์ภาคใต้ ตามความเชื่อถือเอาวันแรกของสงกรานต์ (13 เม.ย.) เป็น "วันส่งเจ้าเมืองเก่า" ส่วน "วันว่าง" (14 เม.ย.)มีการทำบุญตักบาตรที่วัด สรงน้ำพระพุทธรูป วันสุดท้ายเป็น "วันรับเจ้าเมืองใหม่"
(15 เม.ย.) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงาม

                   การอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์สืบสานให้ดำรงอยู่ต่อไป โดยการปลูกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่สาระและความสำคัญของวันสงกรานต์ สงเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีสงกรานต์ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนในท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ และเลือกสรรภูมิปัญญารวมถึงประเพณีที่กำลังสูญหายหรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งสนับสนุนให้มีการสร้างความรู้ความภาคภูมิใจให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เช่น การจัดให้เยาวชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ที่มีคนเฒ่าคนแก่ร่วมด้วย กิจกรรมเหล่านี้เป็นการร่วมกันอนุรักษ์ ส่งเสริมและสืบสาน ประเพณีสงกรานต์ อันดีงามนี้ให้ดำรงคงอยู่คู่คนไทยและสังคมไทยตลอดไป


บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล


                   รายงานเชิงวิชาการเรื่อง สงกรานต์ประเพณีไทย    คณะผู้จัดทำขออภิปรายผลดังนี้

         1.  ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ทราบถึงข้อมูลทั่วไปของประเพณีสงกรานต์เป็นอย่างดี

         2.  คนไทยเล็งเห็นถึงคุณค่า และความสำคัญของประเพณีสงกรานต์

         3. การจัดกิจกรรมในวันสงกรานต์ ของคนไทยสามารถทำให้คนไทยเองรำลึกถึงบุญคุณ ของพ่อแม่ ปู่ย่า

ตายาย และญาติผู้ใหญ่ที่ได้อบรมสั่งสอบ

         4.  การจัดกิจกรรมในวันสงกรานต์ยังแสดงถึงความรักความสามัคคีของคนในท้องถิ่นนั้นๆ

         5.  เห็นถึงความแตกต่างของประเพณีสงกรานต์ในแต่ละภูมิภาคของไทยในปัจจุบันว่ามีความแตกต่างกัน บางเรื่องของการจัดกิจกรรมและการแสดงที่ผสมผสานของภาคต่างๆ

         6.  เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นคนไทย และมีความรู้สึกที่จะรักษาประเพณีอันดีงามของไทย รวมทั้งประเพณีสงกรานต์ให้คงอยู่ตลอดไป

                   ทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมา คนไทยรู้และเข้าใจถึงข้อมูลทั่วไปของประเพณีสงกรานต์เป็นอย่างดี เช่น ประวัติความเป็นมา คุณค่าและความสำคัญรวมถึงการจัดกิจกรรมและการอนุรักษ์ เราสามารถสังเกตได้จากการจัดงานกิจกรรมวันสงกรานต์ ของไทยที่ผ่านมาซึ่งการที่คนไทยรู้และเข้าใจถึงสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะเป็นการนำไปสู่การส่งเสริมและสืบสานกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ และงานประเพณีท้องถิ่นของตนที่มีอยู่ด้วย


                                                                    บรรณานุกรม


 กระมล ทองธรรมชาติ,และคณะ. วัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 12 . กรุงเทพมหานคร : บริษัท ไทยร่มเกล้า          จำกัด.        จำกัด . 2551 (วันที่สืบค้น : 20/07/2556)                                                              .               

 กระปุก. กิจกรรมวันสงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์”,  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.hilight.kapook.com 

                /view/21053. (วันที่สืบค้น : 20/07/2556)

 ไทยรัฐ. สงกรานต์”,  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaivath.co.th. (วันที่สืบค้น : 02/08/2556)

 ประเพณีไทย. ประเพณีสงกรานต์”,  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.prapayneethai.com/สงกรานต์-

                เชียงใหม่. (วันที่สืบค้น : 27/07/2556)

 มานุษวิทยาสิรินธร,ศูนย์. สังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรืองแก้วการพิมพ์. 2542

 วิกิพีเดีย. สงกรานต์”,  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.th.wikipedia.org/wiki/สงกรานต์.                     .        ...             (วันที่สืบค้น :  27/07/2556)

สงกรานต์. ประเพณีสงกรานต์”,  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.songkran.showded.com . (วันที่สืบค้น :   .                03/08/2556)

สมชัย  ใจดี และยรรยง  ศรีวิริยาภรณ์. ประเพณีและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนา    .                 .                พานิช. 2542

หน้าบ้านจอมยุทธ. ประเพณีสงกรานต์”,  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.banjomyut.com/library/     . .           .               songkran/ประเพณีสงกรานต์. (วันที่สืบค้น :  20/07/2556)

 หมอ. ประเพณีสงกรานต์”,  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.moe.go.th/inspec6/songran/song          .  .               011.html. (วันที่สืบค้น :  27/07/2556)